หั่นเบี้ยคนชรา ยิ่งทำให้คนจนตกหล่นมากกว่าเดิม คลังไม่ควรแบ่งชนชั้น

รศ.ดร.ษัษฐรัมย์ธรรมบุษดี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเฉพาะทาง รัฐสวัสดิการและความเป็นธรรมศึกษา วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิเคราะห์ไว้น่าสนใจว่า เบี้ยผู้สูงอายุ 600 บาท ที่เคยจ่ายให้แบบถ้วนหน้านี้ถูกพิสูจน์มานับ 10 ปี ในการช่วยคนยากจนลำบากที่สุดได้

ซึ่งการที่ตัดให้มาเป็นระบบสงเคราะห์ ต้องพิสูจน์ความยากจนกระทบต่อผู้สูงอายุจำนวนมหาศาล ทั้งยังทำให้กลุ่มคนยากจนที่สุด ซึ่งรัฐบาลอ้างว่าจะได้ช่วยคนกลุ่มนั้นได้มากขึ้น ต้องถูกกันทิ้งออกไปเมื่อมีเกณฑ์เหล่านี้ออกมา

เหมือนกับในช่วงโควิด-19 คนที่ต้องเดินทาง 90 กิโลเมตรเพื่อยืนยันตัวตนที่ธนาคารรัฐ กลไกการพิสูจน์ความจนไม่ว่าจะดีขนาดไหน ที่ลำบากที่สุดก็เข้าไม่ถึงกลไกเหล่านี้ได้อยู่ดี ไหนจะค่าใช้จ่ายการเดินทาง ไหนจะเวลาที่เขาต้องลางาน ต้องขายของ จะทำอย่างไร สิ่งที่เจ็บปวดที่สุดคือศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เพราะต้องมาต่อแถวพิสูจน์ว่าตัวเองเป็นคนยากจนจริงหรือไม่คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

รวย-จน ก็ควรมีสวัสดิการพื้นฐานในชีวิต

ส่วนแนวคิดการตัดเงินจากคนรวยมาจะได้ช่วยคนจนได้มากขึ้น ต้องกลับไปย้อนดูว่าโครงการแบบสงเคราะห์ที่ผ่านมาเคยมีโครงการไหนประสบความสำเร็จบ้าง อย่างมากก็ไปช่วยคนที่จนที่สุดในหมู่บ้านได้แค่ไม่กี่คนด้วยเศษเงินที่โยนลงไป แต่ไม่เคยพูดถึงค่าใช้จ่ายของกระบวนการ กลไกพิสูจน์ตัวตนใช้งบประมาณมากแค่ไหน สิ่งสำคัญต้องไม่ลืมว่านี่คือสังคมมนุษย์ ไม่ว่าคนรวยหรือจนเขาก็สร้างสังคมนี้มาด้วยกัน เสียภาษีมากน้อยก็ขึ้นอยู่กับรายได้ที่มี คนรวยเสียมากเพราะเขาก็ใช้ทรัพยากรมาก คนจนเสียน้อยเพราะเขาใช้น้อย แต่ทุกคนทำให้ประเทศนี้พัฒนาขึ้นเหมือนกัน

สังคมที่ทุกคนร่วมกันพัฒนา สวัสดิการพื้นฐานของชีวิต ไม่ว่าเจ้าสัวเซ็นทรัลก็ควรได้ เจ้าสัว CP ก็ควรได้ เถ้าแก่ร้านทองก็ควรได้ คนจน คนเข็นผักในตลาด หรือแม่ค้าขายข้าวมันไก่เขาก็ควรได้รับ เพราะนี่คือสังคมที่คนเท่ากัน

สิ่งที่กระทรวงการคลังควรทำไม่ใช่การสวัสดิการ ใช้คูปองแบ่งคนเป็นชนชั้น แต่ควรไปเก็บภาษีคนรวยทรัพย์สิน รายได้ มรดก เก็บเหล่านี้ให้เต็มเม็ดเต็มหน่วย แล้วคืนมาให้ทุกคนเท่ากัน ยืนพื้น แบบนี้ถึงเป็นหลักที่นานาประเทศเขาทำกัน

"บำนาญ+ถ้วนหน้า" บันไดขั้นแรกของรัฐสวัสดิการที่ดี

 หั่นเบี้ยคนชรา ยิ่งทำให้คนจนตกหล่นมากกว่าเดิม คลังไม่ควรแบ่งชนชั้น

เวลาเราพูดถึงสังคมผู้สูงอายุในไทย เราจะชอบพูดถึงคำสวยๆ "สังคมสูงวัย เก็บเงินเกษียณ ออมเงินรับสูงวัย" แต่หลักการจริงๆไม่ต้องพูดให้ซับซ้อนยุ่งยากเลย "บำนาญพื้นฐานถ้วนหน้า" นี่คือสิ่งที่จำเป็นต้องมี ไม่ว่าคุณจะทำงานอะไรมาก็ต้องมีบำนาญตัวนี้เป็นสิ่งยืนพื้น ของประเทศไทยตัวเลขที่ควรเป็นอยู่ที่ 2,000-3,000 บาท แบบถ้วนหน้า

ซึ่งตอนนี้เรามีรากฐานที่ดีอยู่แล้วคือ 600 บาทถ้วนหน้า ไม่ต้องไปแก้ระเบียบอะไรเพิ่มเติมเลยแค่เพิ่มเงินตัวนี้ให้มันเหมาะสม ประดับที่เขาสามารถประคองชีวิตอยู่ได้ อย่างสวีเดน เดนมาร์ก อยู่ที่ 20,000 ถึง 30,000 บาทต่อเดือน เทียบกับตามค่าครองชีพของเขาก็เท่ากับประมาณ 4,000-5,000 บาทของไทย

บันไดขั้นแรก คือ บำนาญถ้วนหน้าช่วยคนแก่ เมื่อคนแก่อยู่ได้หนุ่มสาวก็พอมีโอกาสหายใจหายคอ เขาก็มีแรงไปทำงานสามารถไปดูแลเด็กรุ่นต่อไปที่เกิดขึ้นมาได้อย่างมีคุณภาพ เมื่อครอบครัวดีขึ้นสังคมดีขึ้น ปฏิกิริยาลูกโซ่ก็เกิดขึ้นในสังคมไทย แต่ถ้าคุณไปตัดเขาตั้งแต่วันนี้ ปัญหาก็วนกลับมาที่วัยทำงานเหมือนเดิม

เสียงค้านจากประชาชน เกณฑ์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุใหม่

“เบี้ยผู้สูงอายุ 2566” เช็กเงื่อนไข วิธีลงทะเบียน พร้อมปฏิทินการจ่ายเงิน

ปัญหาไม่ใช่เรื่องงบประมาณ แต่ผู้มีอำนาจขี้เหนียวกับคนแก่ กับเด็ก กับประชาชน

อีกมุมที่ควรคำนึง คือ คำพูดว่า "คนจนเขาเสียภาษีน้อย" เขาหาเงินมาได้ไม่มาก แต่เขาใช้เพื่อการบริโภคแทบจะทั้งหมดเลย พวกนี้เข้าภาษีมูลค่าเพิ่มแทบจะทั้งหมดของรายได้ แต่คนรวยๆเขาไปออมไปลงทุน ถ้าว่าไปตามหลักการตัวเลขคนจนครึ่งล่างของสังคมเขาจ่ายภาษีมากกว่า คนรวยที่เดี๋ยวไปซื้อเรือยอร์ชด้วยซ้ำ แล้วหากดูงบประมาณจริงๆ ที่ใช้กับเบี้ยผู้สูงวัยตกปีละประมาณ 70,00 ล้านบาท คิดเป็นเพียง 2% ของงบประมาณรายจ่าประจำปี ยิ่งน้อยมากๆ เมื่อเทียบสัดส่วนก็ไม่ถึง 50% ของงบกระทรวงกลาโหมด้วยซ้ำ ทำไมเราซื้อเรือดำน้ำได้ เครื่องเครื่องบินรบได้ แต่ดูแลคนแก่ไม่ได้ละ

ต่อให้มากกว่านี้ เหมือนมีเงิน 100 นึงจ่ายให้ผู้สูงอายุ 4 บาท ผมว่ามันก็ไม่ได้มากไปอยู่ดี ซึ่งยอดที่ให้ 600 บาท/เดือน เฉลี่ยมาเหลือให้เขาใช้แค่ 20บาท/วัน มันก็ไม่พออยู่แล้ว ปัญหาจึงไม่ใช่เรื่องงบประมาณ แต่ผู้มีอำนาจเขาขี้เหนียวกับคนแก่ กับเด็ก กับประชาชนเท่านั้นเอง

กดคนให้จน ไร้ปากเสียงต่อต้านระบอบนายทุน

มากกว่าสวัสดิการ คือ การสั่นคลอนอำนาจรัฐพันลึก หรือ Deep State การตัดรัฐสวัสดิการถูกผลักดันมาอย่างยาวนานของกลุ่มอนุรักษ์นิยม หลังวันที่ 14 พฤษภาคมที่ผ่านมา เป็นวันแห่งความหวังเกิดขึ้น พักก้าวไกลที่ผลักดันเรื่องรัฐสวัสดิการชัดเจน บำนาญถ้วนหน้า มีแนวโน้มได้ร่วมรัฐบาลไม่ว่าจะเป็นนายกหรือไม่ และนโยบายนี้จะเป็นสิ่งสำคัญ พอก้าวไกลไม่ได้เป็นรัฐบาลแล้ว มันชัดเจนมากๆ ไม่ใช่กันเดินเกมผิดหรือไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่นโยบายนี้มันโผล่ออกมาในช่วงนี้ เขาเตรียมการกันมานานแล้ว

ย้อนกลับไปดูได้ว่า ที่ผ่านมา 'พรรคเพื่อไทย' กับพรรคร่วมรัฐบาล ไม่ได้มีจุดยืนต่อต้านเรื่องพวกนี้อย่างเด่นชัด เพื่อไทยยังเคยพูดว่าการพิสูจน์ความจนก็ดีนะแต่จะทำให้ไฮเทคให้ทันสมัยมากขึ้นเท่านั้น เขาไม่มีการชูเรื่องความคิดถ้วนหน้าเลย หรือช่วงก่อน 14 พฤษภาคม มีใครที่กล้าออกมาหาเสียงว่าจะตัดรัฐสวัสดิการแบบนี้บ้าง ผมกล้าพูดว่าไม่มีเลย พรรคขวาสุดจนซ้ายสุดไม่มีแม้พักเดียวที่กล้าพูดว่าต่อไปเราจะตัดสวัสดิการคนแก่แล้วให้แค่คนจน แต่ทำไมการหั่นเบี้ยผู้สูงอายุกลับมาเป็นนโยบายแรกที่ทำ

"ความสัมพันธ์ระหว่างฟังอนุรักษ์นิยมกับทุนผูกขาด เขากลัวความเท่าเทียม ว่าประชาชนจะลืมตาอ้าปากและท้าทายอำนาจรัฐได้ ถ้าคนต้องกังวล ลูกต้องโอทีมากขึ้น 2 วันเพื่อให้ได้ 600 บาทให้พ่อแม่ จะเอาเวลาที่ไหนมาตั้งคำถามกับรัฐบาล เหมือนน้อยนะ 600 แต่คิดถึงคนเกษียณสิ แล้วจะเอาเวลาที่ไหนมาตรวจสอบกับความไม่เป็นธรรมต่างๆ นี่แหละสิ่งที่อนุรักษ์นิยมคิด"